เมนู

5. คชกุมภชาดก


ช้า ๆ จะได้พร้าสองเล่มงาม


[678] ดูก่อนเจ้าตัวโยก ไฟไหม้ป่าคราวใด
คราวนั้นเจ้าจะทำอย่างไร เจ้าเป็นสัตว์มีความ
บากบั่นอ่อนแออย่างนี้.
[679] โพรงไม้และระแหงแผ่นดินมีอยู่เป็นอัน
มากถ้าพวกข้าพเจ้าไปไม่ทันถึงโพรงไม้และ
ระแหงแผ่นดินเหล่านั้น พวกข้าพเจ้าก็ต้อง
ตาย.
[680] ในเวลาที่จะต้องทำช้า ๆ ผู้ใดรีบด่วนทำ
เสียเร็ว ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทำกลับทำ
ช้าไป ผู้นั้นย่อมตัดรอนประโยชน์ของตนเอง
เหมือนคนเหยียบใบตาลแห้งแหลกละเอียด
ไปฉะนั้น.
[681] ในเวลาที่จะต้องทำช้า ๆ ผู้ใดทำช้า และ
ในเวลาที่จะต้องรีบทำด่วนก็รีบด่วนทำเสีย
ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์ เหมือน
ดวงจันทร์กำจัดมืดเต็มดวงอยู่ ฉะนั้น.

จบ คชกุมภาชาดกที่ 5

อรรถกถาคชกุมภชาดกที่ 5


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุเกียจคร้านรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
วนํ ยทคฺคิ ทหติ ดังนี้.
ได้ยินว่าภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี แม้บวชถวายตน
ในพระศาสนา ก็ได้เป็นผู้เกียจคร้านเหินห่างจากอุทเทสการเรียน
พระบาลี การสอบถาม การโยนิโสมนสิการกัมมัฏฐาน และวัตรปฏิบัติ
กิจวัตรเป็นต้น เป็นผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำ เป็นอยู่อย่างนั้นทุกอิริยาบถ
มีการนั่งและการยืนเป็นต้น. ภิกษุทั้งหลายสนทนากันปรารภถึงความ
เกียจคร้านนั้นของเธอ ในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุชื่อ
โน้น บวชในพระศาสนาอันเป็นนิยยานิกะเครื่องนำออกจากทุกข์เห็น
ปานนี้ ยังเป็นผู้ขี้เกียจขี้คร้าน ถูกนิวรณ์ครอบงำอยู่. พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่อง
อะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน
ภิกษุนี้ก็เป็นผู้เกียจคร้านเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต
มาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์แก้วของพระเจ้าพาราณสีนั้น.